ทะเบียนสมรส / ทะเบียนหย่า

ทะเบียนสมรส / ทะเบียนหย่า

วันที่นำเข้าข้อมูล 8 ก.ย. 2562

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 29 พ.ย. 2565

| 17,989 view

ทะเบียนสมรส / ทะเบียนหย่า

For Thai Nationals requiring assistance in languages other than Thai, please call (0871) 6314 9296. 
拥有泰国国籍的人士若需要非泰语的其他语种帮助服务 请致电 (0871) 6314 9296 。

•   การสมรสระหว่างบุคคลสัญชาติไทย

1.  การสมรส

การขอจดทะเบียนสมรสผู้ที่จะทำการสมรสทั้งสองฝ่ายจะต้องยื่นคำร้องด้วยตนเองที่สถานกงสุลใหญ่ ฯ เนื่องจากคู่สมรสต้องลงลายมือชื่อต่อหน้านายทะเบียน และพยาน 2 คน โดยผู้ขอจดทะเบียนสมรสจะต้องเป็นผู้ที่บรรลุนิติภาวะแล้ว ในกรณีเป็นผู้เยาว์จะต้องมีหนังสือแสดงความยินยอมของผู้ปกครองมาแสดงต่อนายทะเบียน และ ต้องเตรียมเอกสารของผู้ร้องทั้งสองฝ่ายตามที่ระบุดังต่อไปนี้มาให้ครบถ้วน

( 1 ) คำร้องขอนิติกรณ์ ( ขอรับได้ที่สถานกงสุลใหญ่ ฯ หรือดาวน์โหลดจาก แบบฟอร์มคำร้อง )

( 2 ) บันทึกการสอบสวน ( ขอรับได้ที่สถานกงสุลใหญ่ ฯ หรือดาวน์โหลดจาก แบบฟอร์มคำร้อง )

( 3 ) คำร้องขอจดทะเบียนสมรส ( ขอรับได้ที่สถานกงสุลใหญ่ ฯ หรือดาวน์โหลดจาก แบบฟอร์มคำร้อง )

( 4 ) บัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรเหลืองติดรูปถ่าย หรือหนังสือรับรองบุคคลติดรูปถ่าย หรือใบต้นขั้วคำร้องขอมีบัตรประชาชน มีตรารับรองจากอำเภอ หรือเอกสารรับรองบุคคลออกโดยกรมการปกครอง

( 5 ) ทะเบียนบ้านไทย หรือฉบับที่มีตรารับรองจากอำเภอ  (หากเป็นฉบับที่อำเภอรับรอง จะต้องออกให้ภายใน 3 เดือนนับถึงวันที่มายื่น)

( 6 ) หนังสือเดินทาง

( 7 ) ใบรับรองความเป็นโสดซึ่งออกโดยที่ว่าการอำเภอ/สำนักทะเบียนไทยไม่เกิน 3 เดือน โดยต้องผ่านการรับรองจากกองสัญชาติและนิติกรณ์ กระทรวงการต่างประเทศของไทย กรณีที่เคยทำการสมรสและเคยหย่าจะต้องมีหนังสือรับรอง (ออกโดยอำเภอไม่เกิน 3 เดือน) ว่าไม่เคยทำการสมรสกับผู้ใดภายหลังจากการหย่ามาแสดงด้วย (ต้องผ่านการรับรองจากกองสัญชาติและนิติกรณ์ กระทรวงการต่างประเทศไทย)

( 8 ) หากเคยสมรสมาก่อน ต้องนำใบสำคัญการหย่าตัวจริง หรือใบทะเบียนฐานะครอบครัวหย่า (กรณีที่เป็นหญิงไทย และหย่ายังไม่ถึง 310 วัน จะต้องมีใบรับรองแพทย์ว่าไม่ได้ตั้งครรภ์มาแสดง)

( 9 ) หากเคยเปลี่ยนชื่อมาก่อน ใบเปลี่ยนชื่อ

กำหนดเสร็จ ภายในวันที่มายื่นคำร้อง ( ไม่มีค่าธรรมเนียม )

หมายเหตุ

- ตามกฎหมายว่าด้วยนามสกุล ฉบับใหม่ เมื่อสมรสแล้วฝ่ายหญิงและฝ่ายชายสามารถเลือกใช้นามสกุลได้ ดังนี้

( 1 ) คงใช้นามสกุลเดิมทั้งสองฝ่าย

( 2 ) ฝ่ายหญิงใช้นามสกุลตามสามี

( 3 ) ฝ่ายชายใช้นามสกุลตามภรรยา

( 4 ) ฝ่ายหญิงใช้นามสกุลสามี ฝ่ายชายใช้นามสกุลภรรยา

 



• การสมรสระหว่างคนไทยกับบุคคลสัญชาติจีน

1.  การสมรส

การขอจดทะเบียนสมรสผู้ที่จะทำการสมรสจะต้องยื่นคำร้องด้วยตนเองที่สถานกงสุลใหญ่ฯ เนื่องจากคู่สมรสต้องลงลายมือชื่อต่อหน้านายทะเบียน และพยาน 2 คน โดยจะต้องเตรียมเอกสารของผู้ร้องทั้งสองฝ่ายตามที่ระบุดังต่อไปนี้มาให้ครบถ้วน

เอกสารของบุคคลสัญชาติไทย

( 1 ) คำร้องขอนิติกรณ์ ( ขอรับได้ที่สถานกงสุลใหญ่ฯ หรือดาวน์โหลดจาก แบบฟอร์มคำร้อง )

( 2 ) คำร้องขอจดทะเบียนสมรส ( ขอรับได้ที่สถานกงสุลใหญ่ ฯ หรือดาวน์โหลดจาก แบบฟอร์มคำร้อง )

( 3 ) บัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรเหลืองติดรูปถ่าย หรือหนังสือรับรองบุคคลติดรูปถ่าย หรือใบต้นขั้วคำร้องขอมีบัตรประชาชน มีตรารับรองจากอำเภอ หรือเอกสารรับรองบุคคลออกโดยกรมการปกครอง

( 4 ) ทะเบียนบ้านไทย หรือฉบับที่มีตรารับรองจากอำเภอ (หากเป็นฉบับที่อำเภอรับรองจะต้องออกให้ภายใน 3 เดือนนับถึงวันที่มายื่น)

( 5 ) หนังสือเดินทาง

( 6 ) ใบรับรองความเป็นโสดซึ่งออกโดยที่ว่าการอำเภอ/สำนักทะเบียนไทยไม่เกิน 3 เดือน โดยต้องผ่านการรับรองจากกองสัญชาติและนิติกรณ์ กระทรวงการต่างประเทศของไทย กรณีที่เคยทำการสมรสและเคยหย่าจะต้องมีหนังสือรับรอง (ออกโดยอำเภอไม่เกิน 3 เดือน) ว่าไม่เคยทำการสมรสกับผู้ใดภายหลังจากการหย่ามาแสดงด้วย (ต้องผ่านการรับรองจากกองสัญชาติและนิติกรณ์ กระทรวงการต่างประเทศไทย)

( 7 ) หากเคยสมรสมาก่อน ต้องนำใบสำคัญการหย่าตัวจริง หรือใบทะเบียนฐานะครอบครัวหย่า (กรณีที่เป็นหญิงไทย และหย่ายังไม่ถึง 310 วัน จะต้องมีใบรับรองแพทย์ว่าไม่ได้ตั้งครรภ์มาแสดง)

( 8 ) หากเคยเปลี่ยนชื่อมาก่อน ใบเปลี่ยนชื่อ

เอกสารของบุคคลสัญชาติจีน

( 1 ) หนังสือเดินทางตัวจริง พร้อมสำเนาหน้าที่มีรูปถ่ายและมีชื่อ 1 ชุด หรือใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ พร้อมสำเนาด้านหน้าและด้านหลัง

( 2 ) บัตรประจำตัวประชาชน พร้อมสำเนาด้านหน้าและด้านหลัง

( 3 ) ใบรับรองความเป็นโสด โดยเอกสารดังกล่าวต้องผ่าน (1) การแปลเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษโดย Notary Public (公证处) ในพื้นที่ (2) การรับรองโดยสำนักงานการต่างประเทศ (FAO) ของมณฑลนั้นๆ และ (3) การรับรองโดยสถานกงสุลใหญ่ ณ นครคุนหมิง (พร้อมสำเนา 1 ชุด)

* เอกสารทุกอย่างต้องออกให้ภายใน 3 เดือน นับถึงวันที่มายื่น *

หมายเหตุ : ในบางกรณีสถานกงสุลใหญ่ฯ อาจขอเอกสารจำเป็นอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมด้วย

กำหนดเสร็จ ภายในวันที่มายื่นคำร้อง ( ไม่เสียค่าธรรมเนียม )

 


 

• การสมรสระหว่างคนไทยกับคนสัญชาติอื่น

การขอจดทะเบียนการสมรสผุ้ที่จะทำการสมรสทั้งสองฝ่ายจะต้องไปยื่นคำร้องด้วยตนเองที่สถานกงสุลใหญ่ฯ เนื่องจาก คู่สมรสต้องลงลายมือชื่อต่อหน้า นายทะเบียน และพยาน 2 คน โดยจะต้องจัดเตรียมเอกสาร ของผู้ร้องทั้งสองฝ่ายตามที่ระบุดังต่อไปปนี้มาให้ครบถ้วน

เอกสารของบุคคลสัญชาติไทย

( 1 ) คำร้องขอจดทะเบียนสมรส ( ขอรับได้ที่สถานกงสุลใหญ่ ฯ หรือดาวน์โหลดจาก แบบฟอร์มคำร้อง )

( 2 ) บัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรเหลืองติดรูปถ่าย หรือหนังสือรับรองบุคคลติดรูปถ่าย หรือใบต้นขั้วคำร้องขอมีบัตรประชาชน มีตรารับรองจากอำเภอ หรือเอกสารรับรองบุคคลออกโดยกรมการปกครอง

( 3 ) ทะเบียนบ้านไทย หรือฉบับที่มีตรารับรองจากอำเภอ  (หากเป็นฉบับที่อำเภอรับรอง จะต้องออกให้ภายใน 3 เดือนนับถึงวันที่มายื่น)

( 4 ) หนังสือเดินทาง

( 5 ) ใบรับรองความเป็นโสดซึ่งออกโดยที่ว่าการอำเภอ/สำนักทะเบียนไทยไม่เกิน 3 เดือน โดยต้องผ่านการรับรองจากกองสัญชาติและนิติกรณ์ กระทรวงการต่างประเทศของไทย กรณีที่เคยทำการสมรสและเคยหย่าจะต้องมีหนังสือรับรอง (ออกโดยอำเภอไม่เกิน 3 เดือน) ว่าไม่เคยทำการสมรสกับผู้ใดภายหลังจากการหย่ามาแสดงด้วย (ต้องผ่านการรับรองจากกองสัญชาติและนิติกรณ์ กระทรวงการต่างประเทศไทย)

( 6 ) หากเคยสมรสมาก่อน ต้องนำใบสำคัญการหย่าตัวจริง หรือใบทะเบียนฐานะครอบครัวหย่า (กรณีที่เป็นหญิงไทย และหย่ายังไม่ถึง 310 วัน จะต้องมีใบรับรองแพทย์ว่าไม่ได้ตั้งครรภ์มาแสดง)

( 7 ) หากเคยเปลี่ยนชื่อมาก่อน ใบเปลี่ยนชื่อ

เอกสารของบุคคลสัญชาติอื่น

( 1 ) หนังสือเดินทาง พร้อมสำเนาหน้าที่มีรูปถ่ายและมีชื่อ 1 ชุด

( 2 ) หนังสือรับรองสถานะการสมรสออกโดยทางการของประเทศคู่สมรส ซึ่งจะต้องแปลเป็นภาษาอังกฤษ และได้รับการรับรองเอกสารจากสถานฑูต / สถานเอกอัครราชฑูตฯ ของประเทศคู่สมรส ซึ่งประจำประเทศจีน 1 ชุด

( 3 ) ใบรับรองการทำงาน 1 ชุด ที่ผ่านการประทับตราและรับรองจาก Notary Public ของจีน

( 4 ) ใบรับรองการเสียภาษี ( 1  ปี ย้อนหลัง ) 1 ชุด ที่ผ่านการประทับตราและรับรองจาก Notary Public ของจีน

( 5 ) ใบรับรองเงินเดือน ( 3 เดือนย้อนหลัง ) 1 ชุด ที่ผ่านการประทับตราและรับรองจาก Notary Public ของจีน

กำหนดเสร็จ

ภายในวันที่มายื่นคำร้อง ( ไม่เสียค่าธรรมเนียม )

หมายเหตุ

หากคู่สมรสชาวต่างชาติ ไม่ได้ทำงาน ให้เขียนจดหมายรับรองรายได้ของตนเอง แล้วนำไปประทับตรารับรองจาก Notary Public

2. การหย่าการขอจดทะเบียนหย่าจะต้องยื่นคำร้องด้วยตนเองที่สถานฑูตฯ เนื่องจากต้องลงลายมือชื่อต่อหน้านายทะเบียน และพยาน 2 คน โดยจะต้องจัดเตรียมเอกสารของผู้ร้องทั้งสองฝ่ายตามที่ระบุดังต่อไปนี้มาให้ครบถ้วน

เอกสารของบุคคลสัญชาติไทย

( 1 ) คำร้องขอนิติกรณ์ ( ขอรับได้ที่สถานกงสุลใหญ่ ฯ หรือดาวน์โหลดจาก แบบฟอร์มคำร้อง )

( 2 ) บันทึกการสอบสวน ( ขอรับได้ที่สถานกงสุลใหญ่ ฯ หรือดาวน์โหลดจาก แบบฟอร์มคำร้อง )

( 3 ) คำร้องขอจดทะเบียนหย่า ( ขอรับได้ที่สถานกงสุลใหญ่ ฯ หรือดาวน์โหลดจาก แบบฟอร์มคำร้อง )

( 4 )บัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรเหลืองติดรูปถ่าย หรือหนังสือรับรองบุคคลติดรูปถ่าย หรือใบต้นขั้วคำร้องขอมีบัตรประชาชน มีตรารับรองจากอำเภอ หรือเอกสารรับรองบุคคลออกโดยกรมการปกครอง

( 5 ) ทะเบียนบ้านไทย หรือฉบับที่มีตรารับรองจากอำเภอ  (หากเป็นฉบับที่อำเภอรับรอง จะต้องออกให้ภายใน 3 เดือนนับถึงวันที่มายื่น)

( 6 ) หนังสือเดินทาง

( 7 ) หากเป็นการหย่าโดยคำพิพากษาของศาล ผู้ร้องต้องนำหลักฐานมาแสดง

( 8 ) ใบสำคัญการสมรสฉบับจริงที่ออกโดยสถานเอกอัครราชทูตฯ / สถานกงสุลใหญ่ฯ หรืออำเภอไทยฝ่ายละ 1 ฉบับ หรือฉบับที่มีตรารับรองจากอำเภอ ((หากเป็นฉบับที่อำเภอรับรอง จะต้องออกให้ภายใน 3 เดือนนับถึงวันที่มายื่น)

เอกสารของบุคคลสัญชาติจีนหรือสัญชาติอื่น

( 1 ) หนังสือเดินทาง พร้อมสำเนาหน้าที่มีรูปถ่ายและมีชื่อ 1 ชุด หรือใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ พร้อมสำเนาด้านหน้าและด้านหลัง

( 2 ) ใบสำคัญการสมรสฉบับจริง ( ทะเบียนสมรส )

กำหนดเสร็จ ภายในวันที่มายื่นคำร้อง ( ไม่มีค่าธรรมเนียม )

หมายเหตุ

การปกครองบุตร

( 1 ) กรณีการหย่าโดยความยินยอม ให้ทำความตกลงเป็นหนังสือว่าฝ่ายใดจะปกครองบุตรคนใด หากตกลงกันไม่ได้หรือมิได้ตกลงกันให้ศาลเป็นผู้ชี้ขาด

( 2 ) กรณีการหย่าโดยคำพิพากษาของศาล ศาลจะชี้ขาดให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือบุคคลภายนอกเป็นผุ้ปกครอง