Announcement of the Prince Mahidol Award Laureates 2019

Announcement of the Prince Mahidol Award Laureates 2019

วันที่นำเข้าข้อมูล 19 ธ.ค. 2562

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 25 พ.ย. 2565

| 918 view

On 21 November 2019, the Prince Mahidol Award Foundation under the Royal Patronage (PMAF) held a joint press conference at Siriraj Hospital, Bangkok, to announce the 28th Prince Mahidol Laureates for 2019 in the field of Medicine and Public Health. At the said press conference, Ms. Busadee Santipitaks, Director-General of the Department of Information, Ministry of Foreign Affairs of Thailand, in her capacity as the Chair of the PMAF Public Relations Sub-Committee, together with Professor Dr. Prasith Wattanapa, Dean of the Faculty of Medicine, Siriraj Hospital, Mahidol University, in the capacity of Vice President of the PMAF, Professor Supat Vanichyakarn, Secretary-General of the PMAF, Professor Vicharn Panich, Chair of the International Awards Committee, H.E. Mr. Georg Schmidt Ambassador of the  Federal Republic of Germany to Thailand, and H.E. Mr. Brian John Davidson, Ambassador of the United Kingdom to Thailand, were also present.

This year, the Prince Mahidol Award in the field of Medicine is awarded to Professor Dr. Ralf F.W. Bartenschlager from the Federal Republic of Germany.

Professor Dr. Ralf F.W. Bartenschlager’s prominent work on the life cycle of hepatitis C virus (HCV) provided basis for the development of effective, safe, and specific antivirals, called the DAA (Direct Acting Antiviral), with a 95% success rate and minimal side effects, leading to the discovery of a cure for hepatitis C, and consequently saved millions of lives worldwide.

The Prince Mahidol Award in the field of Public Health is awarded to Professor David Mabey from the United Kingdom.

Professor Mabey has studied trachoma, the most common eye infection leading to blindness worldwide, for more than 30 years. Trachoma is caused by the bacterium Chlamydia trachomatis which is responsible for the blindness or visual impairment of about 1.9 million people globally every year. Infection spreads through personal contact and by flies that have been in contact with discharge from the eyes or nose of an infected person, particularly in developing countries with inadequate hygiene, crowded households, and inadequate access to water and sanitation. The continuous and relentless efforts of Professor David Mabey to control and eliminate trachoma blindness has improved the livelihood of millions of people throughout the world.

His Majesty King Maha Vajiralongkorn Phra Vajiraklaochaoyuhua has appointed Her Royal Highness Princess Maha Chakri Sirindhorn to preside over the Presentation Ceremony of the Prince Mahidol Award 2019, on 30 January 2020 at Chakri Maha Prasat Throne Hall, Bangkok.

 

27 November 2019

---------------------------------------------------------------

ผู้ได้รับพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ครั้งที่ ๒๘ ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๒

เมื่อวันที่ ๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๖๒ นางสาวบุษฎี สันติพิทักษ์ อธิบดีกรมสารนิเทศ ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการประชาสัมพันธ์มูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้เข้าร่วมงานแถลงข่าวประกาศผลผู้ได้รับพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ครั้งที่ ๒๘ ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๒ ณ โรงพยาบาลศิริราช ร่วมกับศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์ประสิทธิ์ วัฒนาภา รองประธานมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลฯ ศาสตราจารย์คลินิกนายแพทย์สุพัฒน์ วาณิชย์การ เลขาธิการมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลฯ ศาสตราจารย์นายแพทย์วิจารณ์ พานิช ประธานคณะกรรมการรางวัลนานาชาติ มูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลฯ นายเก-ออร์ค ชมิท เอกอัครราชทูตสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีประจําประเทศไทย และนายไบรอัน จอห์น เดวิดสัน เอกอัครราชทูตสหราชอาณาจักรประจำประเทศไทย โดยผลการตัดสินผู้ได้รับพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๒ มีดังต่อไปนี้

สาขาการแพทย์ ได้แก่ ศาสตราจารย์ ดร. ราล์ฟ เอฟ ดับเบิ้ลยู บาร์เทนชลากเกอร์ (Dr. Ralf F.W. Bartenschlager) จากสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี

ศาสตราจารย์ ดร. ราล์ฟ เอฟ ดับเบิ้ลยู บาร์เทนชลากเกอร์ มีผลงานที่โดดเด่นคือการศึกษาเกี่ยวกับวงจรชีวิตของไวรัสตับอักเสบซี (Hepatitis C Virus หรือ HCV) นำไปสู่องค์ความรู้ในการพัฒนายาต้านไวรัสที่เรียกว่า ดีเอเอ (DAA : Direct Acting Antiviral) ซึ่งมีประสิทธิภาพสูง มีความจำเพาะ และปลอดภัย สามารถรักษาผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีแบบเรื้อรังให้หายได้ถึงร้อยละ 95 โดยมีผลข้างเคียงน้อยลง

ผลงานการศึกษาและค้นพบที่สำคัญของศาสตราจารย์ ดร. ราล์ฟ เอฟ ดับเบิ้ลยู บาร์เทนชลากเกอร์ ทำให้สามารถรักษาโรคติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีที่เป็นอันตรายถึงชีวิตและสามารถช่วยชีวิตผู้ป่วยได้หลายล้านคนทั่วโลก

สาขาการสาธารณสุข ได้แก่ ศาสตราจารย์นายแพทย์ เดวิด เมบี (Professor David Mabey) จากสหราชอาณาจักร

ศาสตราจารย์นายแพทย์เดวิด เมบี ได้ทำการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับโรคริดสีดวงตามากว่า ๓๐ ปี ซึ่งเป็นการติดเชื้อที่ทำให้ตาบอดได้บ่อยที่สุด โดยเกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่ชื่อว่า คลามิเดีย ทราโคมาติส (Chlamydia trachomatis) ซึ่งทำให้มีผู้ป่วยตาบอดหรือเกิดความพิการทางสายตามาแล้วถึง ๑.๙ ล้านคนทั่วโลก การติดเชื้อแพร่กระจายได้โดยการสัมผัสกับสารคัดหลั่งจากตาหรือจมูกของผู้ที่ติดเชื้อ โดยเฉพาะในประเทศกำลังพัฒนาที่มีสุขอนามัยไม่ดี  ประชากรอาศัยอยู่อย่างหนาแน่น  และไม่มีแหล่งน้ำสะอาดที่เข้าถึงได้เพียงพอ

ผลงานและความพยายามในการศึกษาวิจัยเพื่อควบคุมและกำจัดโรคริดสีดวงตาของศาสตราจารย์นายแพทย์เดวิด เมบี ส่งผลให้คุณภาพชีวิตของคนหลายล้านคนทั่วโลกดีขึ้น

ในการนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์พระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๒ ในวันพฤหัสบดีที่ ๓๐ มกราคม ๒๕๖๓ ณ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง

 

๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๖๒