วันที่นำเข้าข้อมูล 15 ก.ย. 2558
วันที่ปรับปรุงข้อมูล 21 พ.ย. 2565
หลายคนรู้จักเส้นทางสายไหมทางบกที่เริ่มต้นจากซีอาน ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของจีน (The Northern Silk Road) ผ่านเอเชียกลาง เอเชียตะวันตก สู่ยุโรป รวมถึงเส้นทางสายไหมทางทะเลที่กำลังเป็นที่กล่าวขานอยู่ในปัจจุบัน ตามแนวคิด “One Belt and One Road” (the "Silk Road Economic Belt" and the "21st Century Maritime Silk Road") ในยุคของประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ของจีน
แต่น้อยคนที่จะรู้ว่า จริง ๆ แล้ว ทางทิศหรดี หรือตะวันตกเฉียงใต้ของจีนก็มีเส้นทางสายไหม (The Southern Silk Road) และมีประวัติศาสตร์ยาวนานไม่แพ้กัน โดยเริ่มต้นจากมณฑลเสฉวน แตกเป็น 2 เส้นทางผ่านมณฑลยูนนาน เข้าเมียนมาร์ ถึงอินเดีย (บางตำรากล่าวว่าเส้นทางนี้ไปถึงที่ราบสูงอิหร่าน และไปรวมกับ Northern Silk Road เข้าสู่ยุโรป)
พลิกฟื้น Southern Silk Road ขานรับ “One Belt and One Road” ตอกย้ำจุดเด่นภูมิศาสตร์ยูนนาน
เมื่อจีนปลุกชีพเส้นทางสายไหม มณฑลยูนนานขานรับกับแนวคิด “One Belt and One Road” ทันที รัฐบาลท้องถิ่นชูวิสัยทัศน์ที่จะให้ยูนนานเป็นศูนย์กลางเชื่อมต่อภูมิภาค 4 ทิศทาง คือ
อันที่จริงแนวคิด “One Belt and One Road” สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ “เมืองหัวสะพาน” ของมณฑลยูนนานที่มีอยู่เดิม ซึ่งวางตัวให้ยูนนานเป็นประตูการค้าทางภาคตะวันตกเฉียงใต้ของจีน ที่เชื่อมมณฑลตอนในของจีน กับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียใต้ การฟื้นคืนชีพของเส้นทางสายไหมเท่ากับเป็นการตอกย้ำความเป็นมณฑลที่มีจุดเด่นด้านภูมิศาสตร์ของมณฑลยูนนานมากยิ่งขึ้น
การขับเคลื่อนของยูนนาน ภายใต้กรอบ “One Belt and One Road”
เพื่อให้บรรลุการเป็นศูนย์กลางเชื่อมต่อภูมิภาค 4 ทิศทาง และเพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งการเชื่อมโยงบนความสัมพันธ์ 5 มิติ (นโยบาย คมนาคม การค้า เงินตรา และการไปมาหาสู่กันระหว่างประชาชน) กับประเทศเพื่อนบ้านให้มีมากยิ่งขึ้น ตามแนวคิด “One Belt and One Road” รัฐบาลท้องถิ่นยูนนานได้กำหนดทิศทาง
การขับเคลื่อนไว้ 4 ประการ คือ
ประโยชน์ที่ยูนนานจะได้รับจากแนวคิด “One Belt and One Road”
ประโยชน์ที่เห็นได้ชัด ประการแรกคือ การได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลกลางมากขึ้น บ่อยครั้งที่นโยบายจากส่วนกลางคลอดออกมา ไม่ว่าจะเป็นนโยบายพัฒนาภาคตะวันตกของจีน หรือเขตชายแดนนำร่องที่รุ่ยลี่ (ชายแดนยูนนาน-เมียนมาร์) รวมถึงยุทธศาสตร์ “หัวสะพาน” ที่ผ่านความเห็นชอบจากรัฐบาลกลาง ส่งผลให้ยูนนานได้รับการสนับสนุนทั้งเม็ดเงินและแผนงานจากส่วนกลาง อีกทั้งแผนพัฒนาต่าง ๆ จากรัฐบาลท้องถิ่นก็ทยอยออกมาเรื่อย ๆ ไม่ว่าจะเป็นเขตอุตสาหกรรมใหม่ภาคกลางยูนนาน (Central Yunnan Industry Cluster Area) และเขตความร่วมมือเศรษฐกิจข้ามพรมแดน ซึ่งล้วนส่งผลให้ยูนนานเกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
ผลดีประการต่อมาคือ เงื่อนไขการลงทุนจะได้รับการปรับปรุงให้ดีขึ้น ไม่กีปีมานี้ โครงการขนาดใหญ่ในยูนนานต่างทยอยเริ่มการก่อสร้าง เช่น สาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน อุตสาหกรรม และการเชื่อมเครือข่ายคมนาคมกับประเทศเพื่อนบ้าน รวมไปถึงการพัฒนาตามแนวชายแดน อาทิ การผ่านด่านสะดวกมากขึ้น และการใช้เงินหยวนชำระเงินข้ามพรมแดน แนวคิด “One Belt and One Road” จะสร้างโอกาสการลงทุนในมณฑลยูนนานให้มีมากขึ้น ทั้งด้านการดึงดูดเงินลงทุน เทคโนโลยี และแรงงานคุณภาพ รวมถึงการส่งเสริมนโยบายการลงทุน “ก้าวออกไป” เพื่อขยายสู่ตลาดต่างประเทศ
จีนคาดหวังว่า แนวคิด “One Belt and One Road” จะส่งผลดีต่อวัฒนธรรม การท่องเที่ยว การค้าการลงทุน การเงิน คมนาคม และการก่อสร้างสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน ระหว่างจีนกับประเทศเพื่อนบ้าน ดังนั้น “One Belt and One Road” จึงเป็นอีกหนึ่งช่องทางในการพัฒนาเศรษฐกิจของยูนนานให้เติบโตรวดเร็วขึ้น ทั้งจีดีพี การลงทุนในสินทรัพย์ถาวร และนำเข้าส่งออก รวมถึงการส่งเสริมความร่วมมือด้านการค้ากับต่างประเทศ
“One Belt and One Road” กับ โอกาสของไทยและยูนนาน
การเชื่อมโยงด้าน |
การเชื่อมโยงไทย-ยูนนาน ในปัจจุบัน |
โอกาสของไทยกับยูนนาน |
นโยบาย |
ราชวงค์และผู้นำของไทยเยือนยูนนานเป็นระยะ ๆ |
ผู้นำของสองฝ่ายเดินทางเยือนกันบ่อยครั้งขึ้น เพื่อพัฒนาการค้า คมนาคม และท่องเที่ยวให้มีมากขึ้น |
คมนาคม |
ไทยและยูนนานมีเส้นทางเชื่อมต่อกันในปัจจุบัน 3 เส้นทาง ได้แก่
|
|
การค้า |
|
|
เงินตรา |
|
|
ประชาชน |
|
|
บทสรุป
จริง ๆ “One Belt and One Road” ก็ไม่ใช่เรื่องใหม่อะไร แถมยังทับซ้อนกับแนวคิดเส้นทางเดิม ๆ ที่มีกันมานมนานอย่าง Asia Europe Continental Bridge อย่างไรก็ตาม การตัดสินใจของผู้นำคนใหม่ของจีนก็สะท้อนให้เห็นว่า จีนเอาจริงกับยุค connectivity เพื่อเปิดประเทศให้กว้างขึ้น และให้ความสำคัญกับการเชื่อมโยงเครือข่ายทุกด้านผ่านเอเชียกลาง เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เอเชียใต้ เอเชียตะวันตก สู่ยุโรป ซึ่งมีประชากรรวม ๆ กันแล้วกว่า 4,400 ล้านคน
มณฑลยูนนาน นอกจากเป็นมณฑลที่ใกล้กับประเทศไทยมากที่สุด (จากด่านบ่อหานถึงด่านเชียงของ ห่างกันเพียง 247 ก.ม.โดยมีลาวขั้นกลาง) ยังเป็นมณฑลที่เปิดพรมแดนให้กับจีน และเป็นศูนย์กลางเชื่อมต่อภูมิภาคต่าง ๆ โดยเฉพาะกับอาเซียน
ดังนั้น จึงเป็นโอกาสของประเทศในอาเซียน รวมถึงประเทศไทย ที่จะปรับและเชื่อมต่อกับยูนนานอย่างไร เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ win-win ร่วมกัน ทั้งทางวัฒนธรรม ท่องเที่ยว การค้าการลงทุน การเงิน คมนาคม และการก่อสร้างสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน ตามเจตนารมณ์ที่จีนตั้งใจไว้ หลังเส้นทางสายไหมคืนชีพอีกครั้ง