บทความบีไอซีคุนหมิง ปี 2559 ตอนที่ 4 การคมนาคมระบบรางกับการส่งเสริมการท่องเที่ยวในภูมิภาค

บทความบีไอซีคุนหมิง ปี 2559 ตอนที่ 4 การคมนาคมระบบรางกับการส่งเสริมการท่องเที่ยวในภูมิภาค

วันที่นำเข้าข้อมูล 18 มี.ค. 2559

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 29 พ.ย. 2565

| 535 view

แม้ยูนนานจะเป็นมณฑลภาคตะวันตกเฉียงใต้ของจีนที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล แต่คุนหมิงซึ่งเป็นเมืองเอกของยูนนานกลับมีบทบาทสำคัญในฐานะประตูเชื่อมจีน ตอนในกับภูมิภาคอาเซียนและเอเชียใต้ เนื่องจากความโดดเด่นด้านที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ที่สามารถเชื่อมโยงการคมนาคม กับประเทศเพื่อนบ้านได้ทั้งทางบก ทางน้ำ ทางอากาศ และระบบราง

เส้นทางถนน R3A เริ่มต้นจากคุนหมิงไปสิ้นสุดยังกรุงเทพมหานคร โดยชายแดนยูนนานกับชายแดนไทยที่จังหวัดเชียงรายมีระยะห่าง 247 กม. และใช้เวลาเดินทางโดยรถยนต์เพียง 4 ช.ม. แม่น้ำโขงมีสมญานามว่า “แม่น้ำนานาชาติ” ไหลออกจากยูนนาน ผ่านเมียนมา ลาว ไทย กัมพูชา และเวียดนาม เป็นเส้นทางคมนาคมสำคัญในอนุภูมิภาคมาแต่โบราณ และท่าอากาศยานนานาชาติฉางสุ่ยคุนหมิงเป็นท่าอากาศยานที่ใหญ่เป็นอันดับ 4 ของจีน รองจากท่าอากาศยานปักกิ่ง เซี่ยงไฮ้ และกว่างโจว

สำหรับการคมนาคมระบบราง คุนหมิงถือเป็นศูนย์กลางของเส้นทางรถไฟแพนเอเชีย 4 สาย ได้แก่ จีน-เวียดนาม จีน-ลาว-ไทย จีน-เมียนมา และจีน-เมียนมา-อินเดีย ทั้งนี้ ภูมิประเทศส่วนใหญ่ของยูนนานเป็นภูเขาสลับหุบเขา ซึ่งต้องใช้งบประมาณจำนวนมากในการก่อสร้างเส้นทางรถไฟ แต่รัฐบาลยูนนานก็ทุ่มงบประมาณมหาศาลถึง 1 แสนล้านหยวนระหว่างปี 2556-2558 เพื่อโครงการนี้ โดยสิ้นปี 2558 ยูนนานมีเส้นทางรถไฟที่ก่อสร้างแล้วเสร็จคิดเป็นระยะทางประมาณ 4,000 กม.

ติดตามอ่านฉบับเต็มได้ที่ www.thaibizchina.com